วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตอบคำถาม

ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน
1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ ข้อบังคับ คำสั่งที่ออกโดยรัฎฐาธิปัตย์เพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของพลเมือง หากฝ่าฝืนจะถูก
ทำโทษ
2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ  1.ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ
         2.ใช้ควบคุมพฤติกรรมของสมาชิก
         3.ใช้บังคับทั่วไป (บังคับกับทุกคนในอาณาจักร)
         4.ใช้บังคับได้เสมอไป (ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก)
         5.หากฝ่าฝืนต้องถูกทำโทษ
3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ 1.สร้างความเป็นระเบียบแก่สังคมและประเทศชาติ
         2.บริหาราชการและบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
         3.สังคมสงบสุขเมื่อทุกคนประฎิบัติตาม
         4.สร้างความเท่าเทียมให้กับคนในสังคม
         5.เป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ ใช่แหล่งกำเนิด 2 อย่าง
       - กฎหมายภายใน
       - กฎหมายภายนอก

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ  - รัฐธรรมนูญ
         - พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระบรมราชโองการ
         - พระราชกฤษฎีกา
         - กฎกระทรวง
         - เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ เป็นลายลักษณ์อักษร
-เกิดมาจากกฎหมายโรมัน
-ถือเอา"หลักเกณฑ์"เป็นใหญ่ -ถือว่า"ตัวบท"สำคัญที่สุด
-คำพิพากษาเป็นการตีความ
-พิจารณาจากหลักเกณฑ์ทั่วไปมาสู่เรื่องเฉพาะเรื่อง
-ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม
-ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ไทย ญี่ปุ่น


7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ กฏหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร,จารีตประเพณี & คำพิพากษาศาล,ถือเอาคำพิพากษาเป็นใหญ่,ถือว่าศาลสำคัญที่สุด,เป็นการพิจารณาจากเรื่อวเฉพาะไปสู่หลักเกณฑ์ทั่วไป,พิจารณาในศาลยุติธรรมทั้งหมด,ความเห็นของนักนิติศาสตร์

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ มี 4ระบบ ได้แก่          
             1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
             2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
             3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
             4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1. ต้องมีประชาชนร่วมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเรียกว่าพลเมือง
        2. ต้องมีดินแดนเป็นของตน ซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอน
        3. ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
        4. ต้องมีเอกราช ไม่ขึ้นแก่รัฐอื่นใด


 

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานผลประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

    สำนักข่าว Foxnews รายงาน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐและเป็นผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต ได้คะแนนเสียงคณะผู้แทนรวมทุกมลรัฐที่รู้ผลชี้ขาดล่าสุด สูงกว่านายมิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับรีกัน โดยผลขั้นชี้ขาด เกิดขึ้นเมื่อเวลา 11.17 นาทีตามเวลาในประเทศไทย ในนาทีที่รู้ผลคะแนนชนะเลิศ 18 เสียงเพิ่มเติมจากรัฐโอไฮโอ ที่เป็นสวิง สเตท หรือ รัฐที่มีการแข่งขันสูง ทำให้นายโอบามา มีคะแนนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของที่นั่งคณะผู้แทนทั้งหมด 270 เสียง ชนะเลิศการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดีต่อ เป็นสมัยที่สอง โดยผลการนับคะแนนล่าสุด คะแนนเสียงนายโอบามา ขยับขึ้นมานำเป็น 303 ต่อ 206 คะแนน ล่าสุดเหลือเพียงรัฐฟลอริด้าเพียงแห่งเดียวที่ผลการนับคะแนนยังไม่เสร็จสิ้น

ซึ่งชัยชนะครั้งนี้ เกิดจากผลคะแนนที่เกินความคาดหมายในบางรัฐที่สำคัญและแข่งขันสูง อย่าง โคโลราโด เพนซินวาเนีย เวอร์จิเนีย รวมถึง โอไฮโอ แม้จะได้คะแนนเสียงรวมจากประชาชนเกือบเท่ากันกับนายรอมนีย์ แต่การคว้าชัยในในรัฐที่มีคะแนนเสียงคณะผู้แทนจำนวนมาก อาทิ แคลิฟอเนียร์ นิวยอร์ก มิชิแกน รวมถึงคว้าชัยในรัฐที่มีการแข่งขันสูง ทำให้นายโอบามากว่าคู่แข่งอย่างมาก
สำหรับบรรยากาศที่สำนักงานใหญ่ทีม หาเสียงของนายโอบามา ในนครชิคาโก ฝูงชนผู้สนับสนุนจำนวนมาก เฝ้ารอการประกาศชัยชนะของนายโอบามา กล่าวถึงชัยชนะของตน และพร้อมที่จะนำพาชาวอเมริกาเดินหน้า ฝ่าฟันวิกฤติและอุปสรรคต่างๆที่เผชิญกันอยู่

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบการปกครองของไทย

รูปแบบการปกครองของไทย



เมืองหลวง: กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ: ภาษาไทย
รัฐบาล: ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภา
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- นายกรัฐมนตรี: สมชาย วงศ์สวัสดิ์

ประวัติศาสตร์
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับแต่การล่มสลายของราชอาณาจักรขอม-จักรวรรดินครวัต นครธม เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13[1] และมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรโบราณหลายแห่ง เช่น อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ เขมร ฯลฯ

ประวัติศาสตร์ไทยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างใน พ.ศ. 1781 ตรงกับสมัยอาณาจักรสุโขทัย และสมัยอาณาจักรล้านนาแห่งภาคเหนือ กระทั่งอาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ความรุ่งเรืองจึงปรากฏในอาณาจักรทางใต้คือกรุงศรีอยุธยาแทน ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองใน พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินจึงทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี อย่างไรก็ดี ในช่วงดังกล่าวประเทศไทยมีอาณาเขตไม่แน่ชัด

ภายหลังการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อพ.ศ. 2325 อาณาจักรสยามเริ่มมีความเป็นปึกแผ่น โดยได้มีการผนวกดินแดนบางส่วนของอาณาจักรล้านช้างเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ครั้นในรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการผนวกเอาเมืองเชียงใหม่ หรืออาณาจักรล้านนา อันเป็นการผนวกดินแดนครั้งใหญ่ครั้งสุดท้าย

วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแต่ก็ต้องรออีกถึงสี่สิบเอ็ดปีจึงจะได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยอีกสองครั้งคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา และ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ล่าสุดได้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ หลังจากได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549

การปกครอง

เดิมประเทศไทยมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้กระทำรัฐประหาร ในสมัยรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยดำรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 แห่งราชอาณาจักรไทย

อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาซึ่งมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นองค์กรบริหารอำนาจ อำนาจบริหารมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามคำกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำกราบบังคมทูลของนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารอำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลซึ่งประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครองเป็นองค์กรบริหารอำนาจ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาควบคู่ไปกับระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐได้แก่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ประมุขแห่งอำนาจอธิปไตยทั้งสาม ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาเป็นประมุข อำนาจบริหารมีนายสมัคร สุนทรเวชในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นประมุข และอำนาจตุลาการมีนายวิรัช ลิ้มวิชัยในฐานะประธานศาลฎีกาเป็นประมุข

การแบ่งเขตการปกครอง



ประเทศไทยแบ่งเขตการบริหารออกเป็น การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่จังหวัด 75 จังหวัด และการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วน'สุขาภิบาล'นั้นถูกยกฐานะไปเป็นเทศบาลทั้งหมดในปี พ.ศ. 2542

ส่วนกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเป็นเขตการปกครองแบบพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม ถูกเรียกเป็นเขตที่เรียกว่า "กรุงเทพมหานครและปริมณฑล"

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กำเนิดอาเซียน

    อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)

        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ

       วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ

สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 

สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ

สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 

สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่

     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน

     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก

     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก

     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง

     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ

     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม

     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ

     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)

        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ

          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น

          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน    (ASEAN Political-Security Community-AEC)

          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ

         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ

         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)             อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่

        1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้

1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง

  สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)

2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน

3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ

ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล

โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน

แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา

        รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้



         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558

         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน

         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน

         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน

         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน